วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำอุทาน

คำอุทาน  หมายถึง  คำพวกหนึ่งที่เปล่งออกมา แต่ไม่มีความหมาย เป็นเพียงแสดง
ความรู้สึก อารมณ์หรือความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังทราบ

ชนิดของคำอุทาน

         คำอุทานแบ่งเป็น  ๒  ชนิด  ดังนี้
๑.  คำอุทานบอกอาการ  เป็นคำอุทานที่แสดงอารมณ์  และความรู้สึกของผู้พูด  เช่น
              ตกใจ                  ใช้คำว่า         วุ้ย  ว้าย  แหม  ตายจริง
              ประหลาดใจ       ใช้คำว่า         เอ๊ะ  หือ  หา
              รับรู้ เข้าใจ          ใช้คำว่า         เออ  อ้อ  อ๋อ
              เจ็บปวด              ใช้คำว่า        โอ๊ย  โอย  อุ๊ย
              สงสาร เห็นใจ    ใช้คำว่า        โธ๋  โถ  พุทโธ่   อนิจจา
              ร้องเรียก             ใช้คำว่า         เฮ้ย   เฮ้   นี่
              โล่งใจ                 ใช้คำว่า        เฮอ  เฮ้อ
              โกรธเคือง           ใช้คำว่า        ชิชะ   แหม
๒.  คำอุทานเสริมบท  เป็นคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือคำเสริมบทต่างๆ คำอุทานประเภทนี้บางคำเสริมคำที่ไม่มีความหมายเพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป  บางคำก็เพื่อเน้นคำให้กระชับหนักแน่น  เช่น
               -  เดี๋ยวนี้มือไม้ฉันมันสั่นไปหมด
               -  หนังสือหนังหาเดี๋ยวนี้ราคาแพงมาก
               -  พ่อแม่ไม่ใช่หัวหลักหัวตอนะ


หน้าที่ของคำอุทาน  

๑.  ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด  เช่น
               -  ตายจริง!  ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา
               -  โธ่! เธอคงจะหนาวมากละซิ
               -  เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะของฉัน
๒.  ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ  ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท  เช่น   
               -  ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป
               -  เมื่อไรเธอจะหางงหางานทำเสียที
               -  เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร
๓.  ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์  เช่น
               -  แมวเอ๋ยแมวเหมียว
               -  มดเอ๋ยมดแดง
               -  กอ เอ๋ย กอไก่ 


ชนิดและหน้าที่ของประโยค

ความหมายและส่วนประกอบของประโยค 

ความหมายของประโยค 

             ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น

ส่วนประกอบของประโยค 

            ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้

1. 
ภาคประธาน         

           ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธาน อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น

2. 
ภาคแสดง          
          ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ
ชนิดของประโยค 
          ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้
1. 
ประโยคความเดียว 
          ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
2. 
ประโยคความรวม 
       ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
         
2.1 ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ 
ตัวอย่าง 
                        • ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์ 

                        • ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม 

                        • ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา 

                        •  พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย 

สันธานที่ใช้ใน ประโยค ได้แก่ และทั้ง – และแล้วก็พอ – แล้วก็ 

หมายเหตุ : คำ    แล้ว  เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง

        2.2 
ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น 
ตัวอย่าง 
                        • พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน 
                        • ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ 


        2.3 ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง

                       • ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง

                       • คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล

       2.4 
ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล
ตัวอย่าง

                     • เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ
                     • คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ

3. ประโยคความซ้อน 

          ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้
      

         3.1 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อม
       3.2 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย     3.3 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย

ศึกษาเพิ่มเติมที่   http://www.oknation.net/blog/thai-lord/2007/05/16/entry-1

คำวิเศษณ์

               คำวิเศษณ์  คือ  คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม  คำสรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์เอง เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนขึ้น  คำวิเศษณ์มักจะอยู่หลังคำที่นำมาขยาย      



ชนิดของคำวิเศษณ์

                หลักภาษาไทยได้แบ่งคำวิเศษณ์ออกเป็น ๑๐ ชนิด  ดังนี้
                       ๑. ลักษณวิเศษณ์  คือ  คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกลักษณะของคำนั้น ๆ อาจบอกชนิดขนาด  สี  เสียง กลิ่น  รส  สัมผัส  และอาการ เช่น
                          ดอกมะลิมีกลิ่นหอม         (บอกกลิ่น)
                          ปากกาสีดำตกอยู่ใต้โต๊ะ     (บอกสี)
                       ๒. กาลวิเศษณ์  คือ  คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกเวลา  สาย  บ่าย  โบราณ  ปัจจุบัน  อดีต อนาคต เช่น
                          เมื่อคืนนี้ลมพัดแรงมาก
                          เขาไปเรียนพิเศษทุกวัน
                       ๓. สถานวิเศษณ์  คือ  คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ใกล้  บน  ล่าง  เหนือ  ใต้  เช่น
                          เขาเป็นคนอีสาน
                          โรงเรียนของฉันอยู่ไกล
                      ๔. ประมาณวิเศษณ์  คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกจำนวนนับ  หนึ่ง  สอง  ที่หนึ่ง  ที่สอง  หรือบอกปริมาณ  มาก  น้อย  จุ  หมด  อันลำ  ทั้งหมด  บาง  บ้าง  ต่าง  เช่น
                          เขากินข้าวจุ
                          ฉันสอบได้ที่หนึ่ง
                      ๕. ปฤจฉาวิเศษณ์  คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อแสดงความสงสัยหรือเป็นคำถามว่าใคร ทำไม ที่ไหน เท่าไร อะไร เช่น
                          คนไหนเรียนเก่ง
                          คุณชอบรับประทานอาหารประเภทใด
                      ๖.  นิยมวิเศษณ์  คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกความแน่นอน  ความชัดเจนว่าเป็นสิ่งนี้  สิ่งนั้น  นี่ นั้น  เอง  แน่นอน  เช่น
                          ฉันเองที่ทำแก้วแตก
                          พรุ่งนี้ผมจะไปหาคุณแน่นอน

                     ข้อสังเกตควรจำ                     
       คำวิเศษณ์บอกความแน่นอนจะอยู่หลังคำขยาย  แต่ถ้าทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมในประโยค  จัดเป็นนิยมสรรพนาม  เช่น
                                    แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง  (นิยมวิเศษณ์)
                                    นี่คือแม่ของฉัน  (นิยมสรรพนาม)                     ๗. อนิยมวิเศษณ์  คือ  คำที่ใช้ขยายคำอื่น โดยไม่บอกกำหนดแน่นอนลงไปว่า เมื่อไร  ที่ไหน  อย่างไร ทำไม  เช่น
                       เหตุใดเธอรีบกลับบ้าน
                      ข้อสังเกตควรจำ                        
       คำวิเศษณ์บอกความแน่นอนจะอยู่หลังคำขยายเท่านั้น  แต่ถ้าทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมในประโยค  จัดเป็นอนิยมสรรพนาม  เช่น
                                  เธอทำอะไรย่อมรู้อยู่แก่ไจ  (อนิยมวิเศษณ์)
                                  อะไรฉันก็กินได้  (อนิยมสรรพนาม)
                     ๘. ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อแสดงอาการรับรอง โต้ตอบ  ขานรับ  ว่า จ๊ะ  จ๋า  คะ เออ  พะยะค่ะ เช่น
                   ท่านครับผมขอลาหยุด ๑ วัน
                   คุณคะเชิญทางนี้ค่ะ
                      ๙. ประติเษธวิเศษณ์  คือ  คำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อแสดงความไม่ยอมรับ ได้แก่คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ หามิได้ เช่น
                   หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ของฉัน
                   ผมไม่ต้องการไปเที่ยวกับคุณ
                     ๑๐. ประพันธวิเศษณ์  คือ คำที่ใช้เชื่อมคำอื่น โดยมีคำว่า  ที่  ซึ่ง  อัน  ดังที่  เพื่อว่า  อย่างที่ ชนิดที่  ที่ว่า คือ  เพื่อว่า  เช่น
                   จงทำอย่างที่ฉันสั่ง

หน้าที่ของคำวิเศษณ์

           ๑. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  เช่น
                   บ้านสวยราคาไม่แพง  (สวย เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม บ้าน)
           ๒. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า  เช่น
                   ฉันเองเป็นคนบอกความจริงแก่เขา (เอง เป็นวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม  ฉัน)
           ๓. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำกริยา  เช่น
                   คนตื่นเช้ามักได้เปรียบคนอื่น  (เช้า เป็นคำวิเศษณ์แสดงเวลาทำหน้าที่ขยายคำกริยา  ตื่น)
           ๔. คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง  เช่น

                   นางสาวไทยคนนี้มีหน้าตาสวยมาก (มาก เป็นคำวิเศษณ์บอกจำนวนที่ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ สวย)